เมนู

ว่าด้วยสังคีติหมวด 10



[357] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย 10 ที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์
นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึง
โต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม 10 เหล่านั้นเป็นไฉน.

นาถกรณธรรม 10


1. ดูก่อนท่านี้ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ศีล เป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มี
ปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมารยาท
และโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย มาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
2. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม
อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว. ธรรม
ทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด
ดีแล้วด้วยทิฏฐิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรม
อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรม
ทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ. บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด
แล้วด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
3. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
4. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนี
โดยเคารพ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบ
ด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดย
เคารพ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
5. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่
เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอุบาย ในกรณียกิจ
นั้น ๆ สามารถทำ สามารถวิจารณ์ในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารี
ทั้งหลาย. แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอุบาย ในกรณียกิจนั้น ๆ สามารถทำ สามารถวิจารณ์ใน
กรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
6. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม
เจรจาน่ารัก มีความปราโมชยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย. แม้ข้อ
ที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมชยิ่งในพระอภิธรรม

ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
7. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้
ตามมีตามได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้
ตามมีตามได้ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม
8. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้
มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล. ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอด
ธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
9. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้ว
นาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่าง
ยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้
นี่ก็เป็น นาถกรณธรรม.
10. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น

ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. นี้ก็เป็น นาลกรณธรรม.

[358] กสิณายตนะ คือ แดนกสิณ 10


1. ผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
คล่องแคล่ว ประมาณมิได้
2. ผู้หนึ่ง ย่อมจำอาโปกสิณได้ . ..
3. ผู้หนึ่ง ย่อมจำเตโชกสิณได้...
4. ผู้หนึ่ง ย่อมจำอาโปกสิณได้...
5. ผู้หนึ่ง ย่อมจำนีลกสิณได้...
6. ผู้หนึ่ง ย่อมจำปีตกสิณได้...
7. ผู้หนึ่ง ย่อมจำโลหิตกสิณได้...
8. ผู้หนึ่ง ย่อมจำโอทาตกสิณได้ ...
9. ผู้หนึ่ง ย่อมจำอากาสกสิณได้ . . .
10. ผู้หนึ่ง ย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง
ขวาง คล่องเเคล่ว ประมาณมิได้.

[359] อกุศลกรรมบถ 10


1. ปาณาติบาต 2. อทินนาทาน
3. กาเมสุมิจฉาจาร 4. มิสาวาท
5. ปิสุณาวาจา 6. ผรุสาวาจา
7. สัมผัปปลาปะ 8. อภิชฌา
9. พยาบาท 10. มิจฉาทิฏฐิ.